เมนู

อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ 9



บทว่า อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ นั้น พระเถระกล่าวหมายถึงวิปัสสนา-
สมาธิทูลนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้แล้วเป็นไป. บทว่า อนิมิตฺตานุสาริ-
วิญฺญาณํ โหติ
ความว่า เมื่อเราอยู่ด้วยวิปัสสนาสมาธิวิหารธรรมนี้อย่างนี้
วิปัสสนาญาณก็แก่กล้า ละเอียดนำไปอยู่เหมือนเมื่อบุรุษเอาขวานที่คม
ตัดต้นไม้อยู่ มองดูอยู่ซึ่งคมขวานในทุกขณะด้วยคิดว่า ขวานของเรา
จริงหนอดังนี้ กิจในการตัด ก็ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้พระเถระ ปรารภ
วิปัสสนาด้วยคิดว่าญาณของเราแก่กล้าจริงหนอดังนี้ ความใคร่ ก็ย่อมเกิด
ขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเถระนั้น ก็ไม่สามารถให้วิปัสสนากิจสำเร็จได้
ฉันนั้น. พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ
โหติ
. บทว่า สพฺพนิมิต ตานํ อมนสิการา อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ
อุปสมฺปชฺช วิหาสึ
ความว่า เราเข้าเจโตสมาธิที่สัมปยุตด้วยวุฏฐานคามิ-
นีวิปัสสนา และสมาธิในมรรคและผลเบื้องสูง ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์
อันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นตน
ทั้งปวงอยู่แล้ว
จบ อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ 9

10. สักกสูตร



ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานเถระแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะ



[525] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา 600 องค์ ฯลฯ
700 องค์ ฯลฯ 800 องค์ ฯลฯ